สวัสดีครับ วันนี้ครูหน่องออนไลน์ มีบทความดีๆ จากเฟสบุ๊คส่วนตัวของท่าน ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) สังกัด สพฐ.กระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้เขียนสะท้อนเรื่องของการประเมินระบบต่างๆ ของโรงเรียนในประเทศไทย ไว้เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2560 ได้อย่างโดนใจคุณครู หลายๆ ท่าน จะมีเนื่อหาที่ท่านดร. เขียนไว้อย่างไรนั้น เราไปอ่านกัน ได้เลยครับ
13 มิ.ย.60
#ว่าด้วยเรื่อง “วัฒนธรรมการประเมิน”
# 19 ข้อที่เห็นบ่อยและอยากให้มีการเปลี่ยนแปลงในการเตรียมการและรับการประเมินฯ
1.การเกณฑ์นักเรียน ครู และคนเฒ่าคนแก่ มาตั้งแถวยืนต้อนรับตั้งแต่หน้าประตูโรงเรียน
2.การจัดขบวน การจัดวงดนตรี และการแสดงต่างๆ เพื่อแห่แหนผู้ประเมินตั้งแต่หน้ารั้วโรงเรียน
3.การตั้งแถวให้นักเรียนโบกธง โบกมือ ปรบมือรัวๆ ชูมือจากหน้าประตูโรงเรียน
4.การลงทุนสูงกับการจัดเตรียมพวงมาลัยหรือเตรียมดอกไม้ไว้ติดอกเสื้อผู้ประเมิน
5.การจัดทำป้ายไวนิลหรือป้ายต้อนรับใหญ่โต ที่เป็นการลงทุนสูงเพื่อรับการประเมิน
6.การเสียค่าใช้จ่ายไปกับการจัดทำป้ายชื่อผู้ประเมิน เช่น ไม้สักแกะสลัก หินอ่อนแกะสลัก ฯลฯ
7.การลงทุนกับการเช่าชุดการแสดงและการแต่งตัวหรือแต่งหน้าให้นักเรียนแสดงเพียงไม่กี่นาที
8.การปลุกให้นักเรียนตื่นแต่ไก่โห่ เพื่อมาคอยต้อนรับและแสดงให้ผู้ประเมินรับชม
9.การจัดซุ้มดอกไม้ มุมดอกไม้ หรือแจกันดอกไม้ไว้ประดับตกแต่งที่เกินความจำเป็น
10.การเสียเงินและเสียเวลากับการซื้อผ้ามาผูกโบว์หรือจับกลีบเป็นริ้วแถว ไว้ประดับหน้าห้องประชุม
11.การจัดเตรียมพรมแดงหรือจัดทำทางเท้าเป็นกรณีพิเศษให้ผู้ประเมินเดินในระหว่างการประเมิน
12. การจัดเตรียมนักเรียนไว้คอยเดินกางร่มให้ผู้ประเมินระหว่างการประเมิน
13. การจัดเตรียมนักเรียนไว้คอยเดินประกบ แนะนำ หรือคอยเดินจูงมือผู้ประเมิน
14.การจัดฐานกิจกรรมต่าง ๆ แสดงต่อหน้าผู้ประเมิน ที่นอกเหนือจากกิจกรรมปกติของโรงเรียน
15. การจัดสำรับอาหารที่หรูหราและราคาแพง ซึ่งสร้างภาระให้กับโรงเรียน
16.การเตรียมการแบบหามรุ่งหามค่ำ ไม่ได้หลับไม่ได้นอน เพื่อรับการประเมินเพียงไม่กี่วัน
17. การให้นักเรียนบางคนหยุดเรียน หรือครูบางคนหยุดงานในวันที่มีการประเมิน
18. การเตรียมของขวัญหรือของที่ระลึกที่มีราคาแพงไว้แสดงความขอบคุณผู้ประเมิน
19. การให้เอกสิทธิ์บางอย่างกับผู้ประเมิน และยกย่องจนคล้ายจะเป็นสมมุติเทพ
#นอกจากเปลี่ยนแปลงที่ “หน่วยรับการประเมิน” แล้ว สิ่งสำคัญที่สุด ก็ควรจะต้องเปลี่ยนความเชื่อและแนวปฏิบัติของ “ผู้ประเมิน” ด้วยเช่นกัน